วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

การผลิตสารฟอกขาว

  สารฟอกขาวคือ
              สารฟอกขาว เป็นสารเคมีประเภทหนึ่ง ที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตอาหารหลายประเภท ทั้งในอาหารที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใส่สารฟอกขาว โดยพบการตกค้างปริมาณสูงในอาหารหลายชนิดที่จำหน่ายในประเทศจึงถูกจัดเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ต้องมีการเฝ้าระวังในการใช้ในผลิตภัณฑ์ อาหารอย่างใกล้ชิด สารฟอกขาวที่นิยมใช้ในอาหารบ้านเราส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของสารประกอบ ซัลไฟต์ ซึ่งเป็นชื่อรวมของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และเกลืออนินทรีย์ของกรดซัลฟูรัสซึ่งแตกตัวให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารฟอกขาวบางตัวไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหาร เนื่องจากเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพ ได้แก่ สารไฮโดรซัลไฟต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยาซัด" ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้ในการฟอกย้อมผ้า แต่พบว่าผู้ผลิตหลายรายนำมาใช้ในการผลิตอาหารเพื่อฟอกสีอาหารให้ดูน่ากิน

สารฟอกขาวในอาหาร       
         ไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกรวมถึงการพัฒนาครัวไทยไปสู่ครัวโลก อาหารที่มีคุณภาพดี ปลอดภัย ย่อมเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในและต่างประเทศ
           การนำสินค้าการเกษตรมาพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นสิ่งที่ดี แต่จะต้องมีคุณภาพได้ระดับมาตรฐานสากล ปราศจากสารปนเปื้อน ได้แก่ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้ โลหะหนักในสัตว์น้ำ ยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ ตลอดจนการตกค้างของสารเคมีที่ใช้ปรุงคุณภาพการผลิต เช่น สีสังเคราะห์ สารกันบูด และสารฟอกขาว เป็นต้น
           สารปนเปื้อนต่างๆมักจะนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพเสื่อม และการไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์อาหารส่งออก  รวมถึงเป็นข้ออ้างการกีดกันทางการค้า
            สารฟอกขาวที่นิยมใช้ในอาหารบ้านเราส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของสารประกอบซัลไฟต์ ซึ่งเป็นชื่อรวมของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และเกลืออนินทรีย์ของกรดซัลฟูรัสซึ่งแตกตัวให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารฟอกขาวบางตัวไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหาร เนื่องจากเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพ ได้แก่ สารไฮโดรซัลไฟต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ยาชัดซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้ในการฟอกย้อมผ้า แต่พบว่าผู้ผลิตหลายรายนำมาใช้ในการผลิตอาหารเพื่อฟอกสีอาหารให้ดูน่ากิน
           สารซัลไฟต์เป็นสารเคมีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหลายประเภทโดยใช้เป็นสารกันเสียเพื่อป้องกันและยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารกันหืนเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในอาหารที่จะทำให้เกิดการเหม็นหืนในผลิตภัณฑ์นั้น และที่สำคัญยังสามารถใช้เป็นสารฟอกขาวอีกด้วย  เนื่องจากมีคุณสมบัติยับยั้งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงเป็นสีน้ำตาลซึ่งเกิดขึ้นในอาหารประเภท  เช่น  ผัก ผลไม้  น้ำผลไม้ น้ำหวานจากพืช และอาหารทะเล พวกกุ้ง ปู ปลา ปลาหนึก เป็นต้น ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้เองทำให้มีการนำสารนี้มาใช้อย่างกว้างขวางในผลิตอาหารต่างๆเช่น
              การผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง
           •   การผลิตน้ำตาล ทั้งน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บและน้ำตาลปึก
              การฟอกสีผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น แป้งสาลี วุ้นเส้น เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เป็นต้น         
     พืชผักผลไม้ที่ปอกเปลือกและต้องการเก็บไว้นานๆโดยไม่เกิดสีน้ำตาลเข้มข้น เช่น การ  ผลิตมันฝรั่งอบแห้ง กล้วยอบแห้ง บางครั้งมีการนำไปแช่ถั่วงอก หน่อไม้ หรือใส่ในการผลิตผลไม้แห้ง ผลไม้ดองและแช่อิ่ม
              การผลิตน้ำผลไม้
            ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อในการผลิตไวน์

                           
          โดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟตซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
       อย่างไรก็ตามการได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ อาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
                                             

        ตารางที่ 1 ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอาหารประเภทต่าง ๆ

ตัวอย่างอาหาร

จำนวนตัวอย่าง

ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไชด์
ค่าต่ำสุด-สูงสุด(มก./กก.)

ร้อยละของตัวอย่าง
ที่เกินค่ากำหนด

เอกสารอ้างอิง

วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูป
25

6.57-123.5

72
1

หน่อไม้ดอง
15

2.8-288.3

(ไม่อนุญาตให้ใส่)
1
กระท้อนแช่อิ่ม
14

2.1-7.77

(ไม่อนุญาตให้ใส่)
1

ขิงหั่นฝอย
14

5.8-180.8

(ไม่อนุญาตให้ใส่)
1

น้ำตาลปี๊บ

36

1.74-1.224.63

61
1>

           หมายเหตุ : 1  = รายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ , 2 = รายงานของสถาบันวิจัยโภชนาการ

        กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารกลุ่มนี้คือกลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาการที่พบคือ หายใจขัด เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เวียนศีรษะ ความดันเลือดต่ำเป็นลมพิษ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาจเกิดอาการช็อก หมดสติและเสียชีวิตได้ ระดับความรุนแรงของอาการขึ้นกับปริมาณการได้รับว่ามากน้อยแค่ไหน
           นอกจากนี้ สารนี้ยังสามารถทำปฏิกิริยากับวิตามินบางชนิด เช่น ไทอามีน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดวิตามินตัวนี้  ถ้าได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเกิดพิษสะสมขึ้นโดยไปรบกวนการทำงานของเอนไซม์ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเมตาบอลิซึมในร่างกายได้
           องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยต่อการบริโภคในชีวิตประจำวันของสารกลุ่มนี้ไว้ว่าไม่ควรบริโภคเกิน 0.7 มิลลิกรัม ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน และหากมีการใช้ต้องระบุในฉลาก
           สารซัลไฟต์จัดเป็นสารฟอกขาวที่ประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท ได้แก่ การผลิตน้ำตาล วุ้นเส้น เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยว ลูกเกด และอาหารทะเลเยือกแข็ง เป็นต้น โดยมีการกำหนดกลุ่มที่อนุญาตให้ใช้วัตถุเจือปนอาหารตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียม-โพแทสเซียมซัลไฟต์  โซเดียม -โพแทสเซียมไบซัลไฟต์ และโซเดียม -โพแทสเซียมเมทาไบซัลไฟต์เทานั้น และมีการระบุชนิดของอาหารที่อนุยาติให้ใช้โดยมีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่ยอมให้มีการตกค้างในอาหารแต่ละประเภทแตกต่างกันไปขึ้นกับปริมาณและลักษณะการบริโภคอาหารนั้นๆ แต่ก็เป็นการกำหนดตามมาตรฐานสากลซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลตามลักษณะการบริโภคอาหารของชาวตะวันตก      
                  


  อย่างไรก็ตาม มีการสำรวจพบการตกค้างของสารฟอกขาวในกลุ่มของสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ซึ่งไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร สารกลุ่มนี้เป็นสารเคมีที่นิยมใช้เป็นสารฟอกขาวในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ฟอกย้อม สิ่งทอ และกระดาษ เป็นต้น สารกลุ่มนี้มีความเป็นพิษรุนแรงกว่าสารซัลไฟต์ตัวอื่นมาก ถ้ากินเข้าไปจะทำให้เกิดการอักเสบที่ลำคอและระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน การไหลเวียนเลือดล้มเหลว ระบบหายใจล้มเหลว หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้
           เนื่องจากสารซัลไฟต์มีคุณสมบัติในการฟอกขาวที่มีประสิทธิภาพสูงและราคาถูกจึงมีผู้ผลิตหลายรายนิยมนำไปใช้ในการฟอกขาวอาหารหลายประเภท ทั้งในชนิดที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใส่สารฟอกขาว ดังมีการสำรวจพบปริมาณซังเฟอร์ไดออกไซต์ตกค้างในปริมาณสูงในอาหารที่จำหน่ายตามท้องตลาดหลายประเภท ดังแสดงในตารางที่
           ดังนั้นในการเลือกซื้ออาหารควรดูฉลากที่แสดงการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการระบุในฉลาก สำหรับคนที่เป็นโรคหอบหืดควรระวังการบริโภคอาหารที่มีการใช้สารฟอกขาวกลุ่มที่กล่าวมานี้ในการผลิต ไม่ควรบริโภคอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ
           ส่วนในอาหารที่ไม่ต้องแสดงฉลากควรสังเกตลักษณะปรากฏของอาหารนั้นว่าโดยธรรมชาติของอาหารควรเป็นอย่างไร เช่น ผักหรือผลไม้ที่ปอกเปลือก เมื่อวางทิ้งไว้จะมีสีคล้ำขึ้น
           ถั่วงอก เมื่อเด็ดหางออกบริเวณที่มีรอยฉีกขาดนั้นจะมีสีคล้ำขึ้น น้ำตาลชนิดต่างๆ มักมีสีน้ำตาลถ้าผลิตโดยไม่ใช้สารฟอกขาว
           น้ำตาลปี๊บน้ำตาลปึก เมื่อเก็บไว้จะมีสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อยๆ ถ้ายังคงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนสีเมื่อเก็บไว้นานๆ ที่อุณหภูมิห้องแสดงว่ามีการใช้สารฟอกขาวในการผลิต

อันตรายจากการผลิตสารฟอกขาว
             โดย ปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่ มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟตซึ่งไม่มี พิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม การได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ อาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารกลุ่มนี้ คือ กลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาการที่พบ คือ หายใจขัด เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ความดันเลือดต่ำ เป็นลมพิษ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาจเกิดอาการช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้  ระดับความรุนแรงของอาการขึ้นกับปริมาณการได้รับว่ามากน้อยแค่ไหน


นอก จากนี้ สารนี้ยังสามารถทำปฏิกิริยากับวิตามินบางชนิด เช่น ไทอามีน ทำให้เสี่ยงต่อ การเกิดโรคขาดวิตามินตัวนี้ ถ้าได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเกิดพิษสะสมขึ้นโดยไปรบกวนการทำงานของ เอนไซม์ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเมตาบอลิซึมในร่างกายได้  องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยต่อการบริโภคในชีวิตประจำวันของ สารกลุ่มนี้ไว้ว่าไม่ควรบริโภคเกิน ๐.๗ มิลลิกรัมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัม ต่อ ๑ วัน  และหากมีการใช้ต้องระบุในฉลาก สารซัลไฟต์จัดเป็นสารฟอกขาวที่ประเทศ ไทยอนุญาตให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท ได้แก่ การผลิตน้ำตาล วุ้นเส้น เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยว ลูกเกด และอาหารทะเลเยือกแข็ง เป็นต้น โดยมีการกำหนดกลุ่มที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารตามประกาศของกระทรวง สาธารณสุข ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียม-โพแทสเซียมซัลไฟต์, โซเดียม-โพแทสเซียมไบซัลไฟต์ และโซเดียม-โพแทสเซียมเมทาไบซัลไฟต์เท่านั้น และมีการระบุชนิดของอาหารที่อนุญาตให้ใช้โดยมีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่ยอม ให้มีการตกค้างในอาหารแต่ละประเภทแตกต่างกันไปขึ้นกับปริมาณและลักษณะการ บริโภคอาหารนั้นๆ แต่ก็เป็นการกำหนดตามมาตรฐานสากลซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลตามลักษณะการบริโภค อาหารของชาวตะวันตก


         อย่างไรก็ตาม มีการสำรวจพบการตกค้างของสารฟอกขาวในกลุ่มของสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ซึ่งไม่ อนุญาตให้ใช้ในอาหาร สารกลุ่มนี้เป็นสารเคมีที่นิยมใช้เป็นสารฟอกขาวในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ฟอกย้อม สิ่งทอ และกระดาษ เป็นต้น สารกลุ่มนี้มีความเป็นพิษรุนแรงกว่าสารซัลไฟต์ตัวอื่นมาก ถ้ากินเข้าไปจะทำให้เกิดการอักเสบที่ลำคอและระบบทางเดินอาหาร  มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน การไหลเวียนเลือดล้มเหลว ระบบหายใจล้มเหลว หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ เนื่องจากสารซัลไฟต์มีคุณสมบัติในการฟอกขาวที่มีประสิทธิภาพสูงและราคาถูก จึงมีผู้ผลิตหลายรายนิยมนำไปใช้ในการฟอกขาวอาหารหลายประเภท ทั้งในชนิดที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใส่สารฟอกขาว ดังมีการสำรวจพบปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในปริมาณสูงในอาหารที่จำหน่าย ตามท้องตลาดหลายประเภท ดังแสดงในตารางที่ ๑
         ดัง นั้นในการเลือกซื้ออาหารควรดูฉลากที่แสดงการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการ ระบุในฉลาก สำหรับคนที่เป็นโรคหอบหืดควรระวังการบริโภคอาหารที่มีการใช้สารฟอกขาวกลุ่ม ที่กล่าวมานี้ ในการผลิตไม่ควรบริโภคอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ส่วนในอาหารที่ไม่ต้องแสดงฉลากควรสังเกตลักษณะปรากฏของอาหารนั้นว่าโดย ธรรมชาติของอาหารควรเป็นอย่างไร เช่น ผักหรือผลไม้ที่ปอกเปลือกเมื่อวางทิ้งไว้จะมีสีคล้ำขึ้น ถั่วงอกเมื่อเด็ดหางออกบริเวณที่มีรอยฉีกขาดนั้นจะมีสีคล้ำขึ้น น้ำตาลชนิดต่างๆ มักมีสีน้ำตาลถ้าผลิตโดยไม่ใช้สารฟอกขาว น้ำตาลปี๊บน้ำตาลปึกเมื่อเก็บไว้จะมีสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อยๆ ถ้ายังคงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนสีเมื่อเก็บไว้นานๆ ที่อุณหภูมิห้องแสดงว่ามีการใช้สารฟอกขาวในการผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น